ทำไมถึงไม่ควรทำบุญปล่อยปลาที่วัด

ทำไมถึงไม่ควรทำบุญปล่อยปลาที่วัด

เรื่องของการทำบุญนั้น เรียกได้ว่าเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับคนไทยมาอย่างช้านานเลยก็ว่าได้ครับ หลายๆ ท่านก็คงจะมีแนวทางหรือวิธีการทำบุญตามศาสตร์ของตนเองที่แตกต่างกันออกไปตามความเชื่อ แต่ก็มีอยู่หลายสิ่งที่เราจะต้องรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับการทำบุญที่อาจจะสร้างการทำลายระบบนิเวศน์เอย หรือจะเป็นการทำบาปโดยที่ไม่ทราบกันก็ได้ วันนี้เราเลยอยากจะมากล่าวเกี่ยวกับว่า “ทำไมถึงไม่ควรทำบุญปล่อยปลาที่วัด” กันสักหน่อยครับ เพื่อเป็นการไม่เสียเวลา เราไปชมกันเล้ยย!!!

นิยามของคำว่า “บุญ”

“บุญ” หมายถึง การชำระหรือล้างจิตใจให้บริสุทธิ์ ผ่องใส ไม่ว่าจะเป็นการทำบุญ ในงานมงคลหรือ อวมงคล ถ้าจะทำให้ถูกต้องและได้ผลดี ควรเป็นเรื่องของการทำจิตใจให้บริสุทธิ์สะอาด ไม่ใช่ทำด้วยความโลภ ความโกรธ หรือความหลง คำว่า บุญ อาจกล่าวอธิบายได้ 3 ประการ คือ

  1. กล่าวโดยเหตุ ได้แก่ การทำความดีซึ่งรวมถึงการเว้นความชั่วด้วย
  2. กล่าวโดยผล ได้แก่ ความสุข
  3. กล่าวโดยสภาพ ได้แก่ การที่จิตใจได้รับการชำระล้างให้บริสุทธิ์ ผ่องใส

แนวทางการทำบุญที่ดี

  • ทำบุญกับสัตว์ต่างๆ  หากไม่มีเวลาไปไหว้พระหรือทำบุญที่วัดจริง ๆ ให้หาเวลาว่างตอนไหนก็ได้ไปปล่อยชีวิตสัตว์เป็นทาน เช่น ปล่อยนก ปล่อยปลา ไถ่ชีวิตโคกระบือ หรืออาจจะช่วยเหลือสัตว์โดยการทำบุญตามมูลนิธิช่วยเหลือสัตว์ โรงพยาบาลสัตว์ หรือหากว่าใครมีสัตว์เลี้ยง ก็ไม่ควรปล่อยปละละเลยเค้านะคะ ควรใส่ใจดูแลรักษาความสะอาด ให้ข้าว ให้น้ำ หรือหากมีเวลาก็พาเค้าไปเดินเล่นวิ่งเล่นข้างนอกบ้านเพื่อความสุขของพวกเค้า
  • สวดมนต์ นั่งสมาธิ ทำจิตใจให้สงบ หาเวลานั่งสมาธิอย่างน้อย วันละ 15 นาที และสวดมนต์บทอะไรก็ได้ ไม่ว่าจะแผ่เมตตา บทพุทธคุณ อิตอิปิโส คาถาชินบัญชร บทพาหุงมหากา หรืออะไรก็ได้ ตามแต่ศรัทธาและความสะดวกเลย หากปฏิบัติได้ทุกวัน นอกจากจะทำให้จิตใจเรานิ่งสงบ มีสติและสมาธิในการทำสิ่งต่าง ๆ แล้ว ยังได้บุญอีกด้วย

ความเชื่อเกี่ยวกับ “การทำบุญปล่อยปลา”

ในสังคมที่นับถือพุทธศาสนามักจะมีความเชื่อเรื่องการปล่อยสัตว์  ที่เป็นการปล่อยสิ่งมีชีวิตที่ถูกจับและกำลังจะถูกฆ่าเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ในปัจจุบันการปล่อยสัตว์ยังพบได้ทั่วไปในหลายแห่งที่ผู้คนในสังคมยังคงมีการนับถือพุทธศาสนา เช่น ทิเบต เนปาล มองโกเลีย จีน เมียนมาร์ ลาว ไทย กัมพูชา เวียดนาม เกาหลี ญี่ปุ่น และศรีลังกา เป็นต้น ซึ่งการปล่อยปลาก็เปรียบเสมือนการที่เราได้ช่วยไถ่ชีวิตพวกเค้านั้นเอง

ทำไมถึงไม่ควรทำบุญปล่อยปลาที่วัด

“การปล่อยปลา” หากไม่มีการศึกษาข้อดีข้อเสียของสัตว์น้ำที่ปล่อยแล้ว นอกจากจะได้บาปเพิ่มแล้วยังส่งผลเสียต้องสภาพแวดล้อมทั้งของสัตว์พื้นทีเดิม ซึ่งปลาบางชนิดก็ไม่สามารถปล่อยในแม่น้ำหรือลำคลองที่ไหลเชี่ยวได้ ซึ่งเราจะขอยกตัวอย่างการปล่อยปลา ปล่อยสัตว์ ที่พวกเค้าจะมีโอกาสรอดกันดังต่อไปนี้ครับ

  • เต่า ควรปล่อยในที่ที่มีน้ำค่อนข้างนิ่ง ดินแฉะๆ เพราะเต่าไม่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในกระแสน้ำแรงๆ เท่ากับเราทำบาปมากกว่าทำบุญ
  • ปลาไหล ควรปล่อยลงแม่น้ำที่มีดินเฉอะแฉะและน้ำไหลไม่แรงหรือตามบริเวณห้วย ท้องสวน ท้องนา
  • ปลาดุก-ปลาช่อน ควรปล่อยในแม่น้ำคลองที่มีกระแสน้ำไม่แรง ค่อยๆปล่อยเพื่อให้ปลาคุ้นน้ำ
  • กบ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ชอบอยู่ในที่ชื้นแฉะ จึงไม่ควรปล่อยลงแม่น้ำ ควรหาที่นา หรือคลองที่มีกอหญ้าหรือพันธุ์ไม้น้ำ เพราะกบก็จะใช้เป็นที่อยู่อาศัย
  • ส่วนปลาสวาย ปลาบึก ควรปล่อยลงในแม่น้ำลำคลองที่มีระดับน้ำลึกและกระแสน้ำไหลแรง เพราะปลาเหล่านี้เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดค่อนข้างใหญ่ จึงต้องใช้พื้นที่กว้างในการดำรงชีวิต

และนี้ก็เป็นข้อมูลเกี่ยวกับ “ทำไมถึงไม่ควรทำบุญปล่อยปลาที่วัด” ที่พวกเราได้วรบรวมมาฝากทุกๆ ท่านกันในบทความข้างต้นนี้ คิดว่าน่าจะช่วยให้ทุกๆ ท่านที่เข้ามาอ่านเข้าใจกันมากขึ้นนะครับ

Yvonne Howard

Related Posts